พ่อยอมเสียสละ! ลูก 3 คน อ้วนจนเกินไป พ่อคิดจะขายอวัยวะในร่างกายเพื่อรักษา


สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เรื่องราวของครอบครัวชาวอินเดีย Nandwana ที่มี ลูก 3 คน อายุ 5 ขวบ 3 ขวบ และ 18 เดือน ติดอันดับ เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลก โดยปริมาณอาหารที่เด็กทั้ง 3 คน รับประทานในแต่ละสัปดาห์นั้น เทียบได้กับเลี้ยงปากท้องได้ราว 2 ครอบครัวใน 1 เดือน อาทิ
 
ทั้งนี้ Rameshbhai Nandwana พ่อชาวอินเดียวัย 34 ปี มีแผนที่จะขายไตของเขาเองเพื่อนำเงินที่ได้มารักษาตัวลูกทั้ง 3 คนที่มีน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเรื้อรัง เนื่องจากเห็นว่าหากปล่อยให้ลูกๆคงอยู่สภาพเช่นนี้ต่อไปจะมีปัญหาสุขภาพถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งทุกวันนี้เด็กๆก็เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่สามารถเดินได้ โดยต้องนำขึ้นรถเข็นไปแทน รวมทั้งต้องอุ้มไปอาบน้ำดูแลระบบขับถ่าย ซึ่งปัญหามากมายสารพัดทำให้เด็กทั้ง 3 คน ไม่สามารถเข้าเรียนหนังสือได้ 



"ฉันอยากให้ลูกๆได้รับการศึกษาได้เรียนหนังสือ ออกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ มีชีวิตของพวกเขา แต่ตอนนี้เขาไม่ได้มีชีวิตแบบนั้น"ผู้เป็นแม่กล่าว
 
สภาพทุกวันนี้ เด็กๆรับประทานอาหารเป็นจำนวนมากต่อวัน ซึ่งแม่ของเด็กต้องใช้เวลาแต่ละวันทำอาหารเลี้ยงลูกๆ ต่อวัน อาทิ ทำแผ่นจาปาตี 30 แผ่น ต่อวัน แกงผัก 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีขนมขบเคี้ยว อาทิ บิสกิต 5 ห่อ กล้วย 12 ลูก และนม 1 ลิตร ต่อวัน ซึ่งถ้าเด็กๆรับประทานอาหารไม่อิ่มก็จะร้องไห้ นั่นทำให้ผู้เป็นแม่ต้องคอยเข้าครัวทำอาหารเกือบทั้งวัน
 
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวนี้มีลูกสาวคนโตอีก 1 คน อายุ 6 ปี แต่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยไม่ได้ป่วยเป็นโรคอ้วน เช่นน้องๆอีก 3 คน 



ทั้งนี้ที่ผ่านมา ครอบครัวนี้ได้พยายามรักษาลูกๆทั้ง 3 คนอยู่ตลอด โดยได้ปรึกษาแพทย์หลายคน ซึ่งแพทย์ในท้องถิ่นให้คำแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่กว่านี้ แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีเงินพอสำหรับค่ารักษา เพราะผู้เป็นพ่อ หัวหน้าครอบครัวมีรายได้หลักจากการเป็นแรงงาน และยังต้องแบ่งเงินมาเป็นค่าอาหารให้ลูกๆ ซึ่งทุกวันนี้ก็ถือว่าลำบากในการดูแลครอบครัวไม่น้อย หลายครั้งที่มีเงินไม่พอก็ต้องหยิบยืมจากญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งทางผู้เป็นพ่อระบุว่า ตั้งใจจะขายไตเพื่อนำเงินมาเป็นค่ารักษาให้ลูกทั้ง 3 คน 


แพทย์ท้องถิ่นวินิจฉัยว่าเด็กทั้ง 3 คน ป่วยจากโรค  Prader-Willi syndrome หรือ พราเดอร์วิลลี่


สำหรับโรค พราเดอร์วิลลี่ เป็นกลุ่มอาการซึ่งประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญคือ ปัญหากินได้น้อยและน้ำหนักไม่ขึ้นในวัยทารกตอนต้น (6-12 เดือนแรก) ต่อมาในวัยทารกตอนปลาย (หลังจาก 6 เดือน-12 เดือน) ก็จะเริ่มกินเก่ง และจะค่อยๆ อ้วนขึ้น จนมีปัญหาจากความความอ้วนได้ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมอาหารและน้ำหนัก ผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาด้านพัฒนการช้าและสติปัญญาไม่มากก็น้อย พบผู้ป่วย 1 ใน 10,000-15,000 ของประชากร 


Share on Google Plus

About komjungisat

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

TEXT WIDGET

Blogger Template

About

Social Profiles

กดไลค์ = 1 กำลังใจ คลิกที่ว่างหรือกดกากบาทข้างล่างเพื่อเข้าอ่านข้อมูล หากคลิกแล้วเด้งไม่ต้องตกใจ ที่เด้งเพราะโฆษณาไม่ใช่ไวรัสค่ะ

Powered By | Blog Gadgets